วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายลำดับศักดิ์สูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองของประเทศ ซึ่งตั้งแต่ปีพ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 18 ฉบับ อันแสดงให้เห็นถึงความขาดเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
รัฐธรรมนูญไทยระบุว่าประเทศไทยมีรูปแบบรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (เขียนว่า ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) กำหนดให้มีการแบ่งแยกอำนาจระหว่างอำนาจนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ ปัจจุบัน ประเทศไทยใช้ระบบสองสภา แตกต่างจากในอดีตที่ใช้ระบบสภาเดี่ยว รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับกำหนดให้ผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งและการแต่งตั้งแตกต่างกันไป เช่นเดียวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรหลักที่ทำหน้าที่ตีความรัฐธรรมนูญและวินิจฉัยข้อขัดแย้งข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ

การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475

ก่อนที่ราชอาณาจักรไทยจะมีรัฐธรรมนูญนั้น ราชอาณาจักรไทยมีระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบการปกครอง ต่อมาเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นั้น ถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์ไทยเชิงการเมืองการปกครอง เมื่อคณะราษฎร ซึ่งประกอบด้วย ข้าราชการสายทหารบก ทหารเรือ และสายพลเรือน จำนวน 99 คน โดยมีพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้า ได้ร่วมกันทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศจากพระมหากษัตริย์ เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด และมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับอยู่ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทรงตัดสินพระทัยที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยสงบ ดังความตามพระราชหัตถเลขา (ต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ) ที่ทรงเขียนในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2475 ไม่ลงวันที่ พระราชทานพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ซึ่งได้แปลเป็นภาษาไทยในหนังสือเรื่อง เกิดวังปารุสก์ เล่ม 2 ความดังนี้ [2][ต้องการอ้างอิง]
ฉันรู้สึกเสียดายอย่างยิ่งที่เขามิได้คิดจะถอดฉัน และฉันยังเสียใจอยู่จนบัดนี้ ความรู้สึกขั้นแรกก็คือจะลาออกทันที แต่สมเด็จกรมพระสวัสดิ์ฯ แนะนำว่าไม่ควรทำ เพราะถ้าทำเช่นนั้นอาจมีการรบกันจนนองเลือดทั้งยุ่งยากต่างๆ จนอาจมีฝรั่งเข้ามายุ่งและชาติเราอาจเสียอิสรภาพได้...
ถ้าเราจะรบโดยใช้ทหารหัวเมืองหรือ นั่นเป็นของแน่ที่เราอาจทำได้ แต่ฉันไม่ยินยอมเลยแม้แต่ชั่วขณะเดียว เพราะเจ้านายในกรุงเทพฯ อาจจะถูกฆ่าหมด ฉันรู้สึกว่าฉันจะนั่งอยู่บนราชบัลลังก์ที่เปื้อนโลหิตไม่ได้... สมเด็จกรมพระสวัสดิ์ฯ แนะนำตลอดเวลาว่าให้ยินยอมกลับกรุงเทพฯ และช่วยคณะราษฎรจัดตั้งการปกครอง โดยมีกษัตริย์และรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็เป็นของที่ฉันเคยอยากจะทำมานานแล้ว แต่ว่าฉันเสียขวัญ
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก่เจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค) ประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 หลังจากนั้น ทรงสละราชสมบัติ ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 ขณะทรงประทับอยู่ที่สหราชอาณาจักร หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเพียงปีเศษ โดยทรงมีเหตุผลในการตัดสินพระทัย ตามความในพระราชหัตถเลขา ดังนี้ [3]
ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจ อันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้า ให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร
บัดนี้ ข้าพเจ้าเห็นว่า ความประสงค์ของข้าพเจ้า ที่จะให้ราษฎรมีสิทธิออกเสียง ในนโยบายของประเทศไทยโดยแท้จริงไม่เป็นผลสำเร็จ และเมื่อข้าพเจ้ารู้สึกว่า บัดนี้ เปนอันหมดหนทาง ที่ข้าพเจ้าจะช่วยเหลือ ให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนได้ต่อไปแล้ว ข้าพเจ้าจึงขอสละราชสมบัติ และออกจากตำแหน่งพระมหากษัตริย์ แต่บัดนี้เปนต้นไป ข้าพเจ้าขอสละสิทธิของข้าพเจ้าทั้งปวง ซึ่งเปนของข้าพเจ้าอยู่ในฐานะที่เปนพระมหากษัตริย์ แต่ข้าพเจ้าสงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งปวง อันเปนของข้าพเจ้าแต่เดิมมา ก่อนที่ข้าพเจ้าได้รับราชสมบัติสืบสันตติวงศ์
 วันรัฐธรรมนูญ
 ตรงกับวันที่๑๐ ธันวาคมของทุกปี ประวัติรัฐธรรมนูญ กฎหมายรัฐธรรมนูญ ร่างรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 10 ธันวาคม

รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ

วันรัฐธรรมนูญ วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวรเพื่อเป็นหลักในการปกครองของประ เทศให้แก่ประชาชนชาวไทย

การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูง สุดของประเทศ

๑. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย

       ๒. หลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก   ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ

       ๓. อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน

       ๔. รัฐบาลได้ออกกฏหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร    

จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยการ ปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอกพระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดช และพันเอกพระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ
วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่ว คราว สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของ ราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ

       ๑. พระมหากษัตริย์

       ๒. สภาผู้แทนราษฎร

       ๓. คณะกรรมการราษฎร

       ๔. ศาล


ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบัน ที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฎิบัติราชการต่างๆจะต้องมีกรรมการราษฎรผู้หนึ่งเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรม ราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎร จึงจะใช้ได้สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติ ออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมา ภิไธยประกาศใช้แล้ว จึงจะมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลง การปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้ว พิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม

กระทั่งถึงวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยามฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิ ได้เปลี่ยนระบอบการปกครอง เป็นการปกครองแบบรัฐสภา  ทั้งนี้เนื่องจาก รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์  ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมือง เป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้บริการราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทนรัฐสภา  ซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่า นั้น   แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย  แต่อย่างไรก็ตามคณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบ กันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนได้   หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญของรัฐซึ่งมี ผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งใหม่ ในส่วนเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์นั้น ได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็น ที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้

อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองตั้งแต่   พ.ศ. ๒๔๗๕ มาจนถึงปัจจุบันรัฐธรรมนูญไทยมีทั้งสิ้น ๒๐ ฉบับ แต่ถ้านับ เฉพาะฉบับที่สำคัญจะมีเพียง ๑๓ ฉบับดังนี้

       ๑. ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พุทธศักราช ๒๔๒๗ ประกาศใช้บังคับ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๕ เดือน ๑๓ วัน

       ๒. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕ ประกาศใช้บังคับเมื่อ วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๑๓ ปี ๕ เดือน

       ๓. รัฐธรรมนูญฉบับราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๘๙ ประกาศและบังคับใช้  เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๐ รวมอายุการประกาศและการบังคับใช้ ๑ ปี ๕ เดือน ๒๘ วัน

       ๔. รัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๔๙๐ ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๐ รวมอายุการประกาศใช้ ๑ ปี ๔ เดือน ๑๔ วัน

       ๕. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๙๒ ประกาศและบังคับใช้เมื่อ วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๒  รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๒ ปี ๘ เดือน ๖ วัน

       ๖. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๗๕ แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๙๕ประกาศและบังคับใช้ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ รวมอายุและประกาศบังคับใช้ ๖ ปี ๗ เดือน ๑๒ วัน

       ๗. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๐๒ ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๒ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๙ ปี ๔ เดือน ๒๐ วัน

       ๘. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๑ ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๑ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๓ ปี ๔ เดือน ๒๐ วัน

       ๙. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๑๕ ประกาศ และบังคับใช้เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๑๕ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้เมื่อ วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๑๕ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๑ ปี ๙ เดือน ๒๒ วัน

       ๑๐. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๗ ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๒ ปี

     ๑๑. รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๙  ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๑ ปี

     ๑๒. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๒๐ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๑ ปี ๑๓ วัน

     ๑๓. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๒๑ (แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๕๒๘)

     ๑๔. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔

     ๑๕. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔

     ๑๖. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐

     ๑๗. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๙ (ฉบับชั่วคราว)

   ๑๘. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ (รัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ)

ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนากาลเป็นอดีตภาค ๒๕๕๐ พรรษา   ปัจจุบันสมัย จันทรคตินิยม สูกรสมพัดสร  สาวนมาส ชุณหปักษ์ เอกาทสิดิถี สุริยคติกาล สิงหาคมมาส จตุวีสติมสุรทิน ศุกรวาร โดยกาลบริเฉท

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุ ณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้นําความกราบบังคมทูลว่า การปกครองของประเทศไทย ใ นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ดําเนินวัฒนามากว่าเจ็ดสิบห้าปี ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา    ได้มีการประก าศใช้ ยกเลิก และแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหลายครั้ง เพื่อให้เหมาะสมแก่สภาวการณ์ของบ้านเมืองและกาลสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป และ โ ดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ได้บัญญัติให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญและคณะกรรมาธิการยกร่ างรัฐธรรมนูญขึ้น มีหน้าที่จัดทําร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับสําหรับเป็นแนวทางการปกครองประเทศ   โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม แสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางทุกขั้นตอนและนําความคิดเห็นเหล่านั้นมาเป็นข้อคํานึงพิเศษ  ในการยกร่างและพิจารณาแปรญัตติโดยต่อเนื่อง

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่จัดทําใหม่นี้มีสาระสําคัญ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันของประชาชนชาวไทย ในการธํารงรักษาไว้ซึ่งเอกราช และความมั่นคงของชาติ การทํานุบํารุงรักษาศาสนาทุกศาสนาให้สถิตสถาพร การเทิดทูนพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และเป็นมิ่งขวัญของ ชาติ การยึดถือระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเป็นวิถีทางในการปกครองประเทศการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ของประชาชน   ให้ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการปกครอง และตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐอย่างเป็นรูปธรรม การกําหนดกลไก สถาบันทางการเมืองทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหาร ให้มีดุลยภาพและประสิทธิภาพตามวิถีการปกครองแบบรัฐสภา รวมทั้งให้สถาบันศาล และองค์กรอิสระอื่นสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยสุจริตเที่ยงธรรม

เมื่อจัดทําร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว สภาร่างรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบและจัดให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อให้ความเห็น ชอบแก่ร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ การออกเสียงลงประชามติ ปรากฏผลว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประ ชามติเห็นชอบให้นําร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้บังคับ  ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติจึงนําร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ให้ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยสืบไป ทรงพระราชดําริว่าสมควรพระราชทานพระบรมราชานุมัติตามมติของมหาชน

จึงมีพระบรมราชโองการดํารัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อม  ให้ตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้ขึ้นไว้ ให้ใช้แทนรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ซึ่งได้ตราไว้ ณ วันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙  ตั้งแต่วันประกาศนี้เป็นต้นไป

ขอปวงชนชาวไทย จงมีความสมัครสโมสรเป็นเอกฉันท์ ในอันที่จะปฏิบัติตามและพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนี้ เพื่อธํ ารงคงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยและอํานาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย และนํามาซึ่งความผาสุกสิริสวัสดิ์พิพัฒนชัยมงคลอเนกศุภผลสกลเกียรติยศสถาพรแก่อาณาประชาราษฎรทั่วสยามรัฐสีมา สมดั่งพระบรมราชปณิธานปรารถนาทุกประการเทอญ
กิจกรรม
มีพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลฉลอง ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม  ทุกปีสืบมา  งานนี้เป็นงานพระราชพิธีและรัฐพิธีร่วมกัน และมีพิธีการ วางพวงมาลาถวายสักการะ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ และจะมีการประดับธงชาติบริเวณ อาคารบ้านเรือน

รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ  เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรกอัน เป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด   วันที่ ๑๐ ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ

วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

คำตัดสินคดีเขาพระวิหาร

คดีเขาพระวิหาร ศาลโลก ให้ ไทย-กัมพูชา ตกลงเรื่องเขตแดนเอง

คดีเขาพระวิหาร

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ไทยพีบีเอส

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ไทยพีบีเอส@MFAThai 

            ศาลโลกยืนตามคำพิพากษาคดีเขาพระวิหารปีั 2505 ให้กัมพูชามีอำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหาร ส่วนเขตแดนให้ไปตกลงกันเอง 2 ประเทศโดยมี UNESCO ดูแล ขณะที่ทูตวีรชัย ชี้ กัมพูชาไม่ได้ในสิ่งที่ร้องขอต่อศาล

            เมื่อเวลา 16.00 น. วันนี้ (11 พฤศจิกายน 2556) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า องค์คณะตุลาการ ศาลโลก ได้ออกนั่งบนบัลลังก์เพื่ออ่านคำพิพากษาคดีเขาพระวิหารแล้ว โดยคณะผู้พิพากษาเริ่มต้นด้วยการกล่าวแสดงความเสียใจต่อการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ของไทย 
            ซึ่งหลังจากนั้น ประธานศาลโลก ได้เริ่มต้นอ่านคำพิพากษาคดีที่กัมพูชาได้ยื่นร้องขอให้ศาลโลกตีความคดีดังกล่าวในปี 2554 ตามธรรมนูญศาลโลก ข้อ 60 เรื่องข้อพิพาทในพื้นที่ใกล้บริเวณปราสาทพระวิหาร โดยประธานศาลโลก ระบุว่า ศาลโลกมีมติรับคำร้องขอของกัมพูชาที่จะตีความคำพิพากษาปี 2505 ตามรัฐธรรมนูญศาลโลก ข้อ 60 โดยให้พิจารณาตามแนวปฏิบัติที่ผ่านมา ประกอบกับพยานหลักฐานของแต่ละฝ่าย ซึ่งทำให้ศาลโลก ไม่อาจตีความเกินคำพิพากษาปี 2505 ได้

            และเมื่อย้อนกลับไปดูคำตัดสินปี 2505 พบว่า กรณีนี้เป็นประเด็นเขตอำนาจอธิปไตยมากกว่าการกำหนดเขตแดน โดยที่ศาลโลกมีอำนาจรับพิจารณาเฉพาะข้อที่เป็นเหตุที่ไม่ใช่บทปฏิบัติการ และไม่ได้มีแนบในแผนที่ในคำพิพากษาปี 2505 ประกอบกับการนำเหตุการณ์ที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้เดินทางเยือนปราสาทพระวิหาร โดยมีทางการฝรั่งเศสให้การต้อนรับ ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นการยอมรับดินแดนทางอ้อม อีกทั้ง การที่คู่ความทั้งสองได้ยอมรับแผนที่ภาคผนวก 1 ทำให้แผนที่ภาคผนวก 1 ถูกบรรจุในสนธิสัญญา สำหรับการที่ขอตีความครั้งนี้ กัมพูชาระบุว่า ขอบเขตพื้นที่พิพาทเล็กมาก ขณะที่ศาลโลกเห็นพ้องว่าพื้นที่พิพาทนี้ก็เล็กมากเช่นกัน

            อย่างไรก็ตาม คำพิพากษาปี 2505 ศาลไม่มีหน้าที่ปักปันเขตแดน เนื่องจากเห็นว่า เป็นเรื่องการกำหนดอธิปไตยมากกว่ากำหนดดินแดน ดังนั้น ศาลโลกจึงเห็นว่า สมควรให้ไทยและกัมพูชาดำเนินการหารือกันเอง เพื่อร่วมรักษามรดกโลกแห่งนี้ให้คงไว้

            ทั้งนี้ หลังจากศาลโลกได้อ่านคำพิพากษาเสร็จสิ้น จากนั้น ในเวลา 17.35 น. นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ ได้แถลงข่าวว่า ทั้งสองฝ่ายรู้สึกพอใจกับคำพิพากษาของศาล ซึ่งหลังจากนี้จะไปหารือกับกัมพูชาในคณะกรรมาธิการร่วมฯ ต่อไป พร้อมกับให้ นายวีระชัย พลาศัย ในฐานะหัวหน้าทีมทนายความของฝ่ายไทยได้ชี้แจงต่อ
            โดย นายวีระชัย พลาศัย ทูตไทยที่เป็นตัวแทนไปสู้คดีเขาพระวิหาร ได้กล่าวว่า ศาลได้ตัดสินว่ามีอำนาจพิจารณาตีความตามคำร้องของกัมพูชา อย่างไรก็ตาม กัมพูชาไม่ได้รับในสิ่งที่มาร้องขอต่อศาล คือพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร รวมทั้งพื้นที่ภูมะเขือ กัมพูชาไม่ได้ เพราะศาลไม่ได้ตัดสินเรื่องเขตแดน แต่ได้เน้นว่าเป็นพื้นที่เล็กมาก ๆ ซึ่งขณะนี้กำลังคำนวณอยู่ ส่วนพื้นที่ 1 ต่อ 2 แสนตารางกิโลเมตรที่เป็นปัญหากันอยู่นั้น ศาลไม่ได้ตัดสินว่าผูกพันกับไทย ดังนั้นถือว่าเรื่องนี้มีความสำคัญมาก ๆ
            นอกจากนี้ นายวีระชัย ยังระบุด้วยว่า ศาลโลกได้แนะนำให้ฝ่ายไทยและกัมพูชาร่วมกันดูแลเขาพระวิหารในฐานะที่เป็นมรดกโลก

            ทั้งนี้ ศาลโลกได้เผยแพร่เอกสารคำพิพากษาและคำตัดสินคดีเขาพระวิหารเป็นภาษาอังกฤษแล้ว สามารถคลิกอ่านได้ที่ icj-cij.org
โฆษกสำนักนายกฯ แถลง นายกฯ สั่งตั้งวอร์รูมเกาะติดคดีเขาพระวิหาร

           เมื่อช่วงเช้าวันที่ 11 พฤศจิกายน 2556 นายธีรัตถ์ รัตนเสวี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความพร้อมของการตัดสินคดีปราสาทพระวิหารของศาลโลกว่า ทางรัฐบาลได้ปรับปรุงห้องเขียวของตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล ให้เป็นห้องวอร์รูมสำหรับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ใช้ติดตามสถานการณ์ร่วมกับผู้บัญชาการเหล่าทัพ และฝ่ายกฎหมายของกระทรวงต่างประเทศ ตั้งแต่เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป คาดว่าศาลโลกจะใช้เวลาอ่านคำพิพากษาประมาณ 2 ชั่วโมง และทางนายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ จะเป็นผู้รายงานสรุปคำตัดสิน จากนั้นจะใช้เวลาประมาณ 40 นาทีสำหรับการร่างแถลงการณ์ เพื่อให้นายกรัฐมนตรีออกแถลงการณ์ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ เวลาประมาณ 18.45 น.


            โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า การตั้งวอร์รูมในวันนี้จะติดตามสถานการณ์เขาพระวิหารอย่างเดียว ไม่มีการพูดถึงสถานการณ์การชุมนุม ภายหลังการตัดสินของศาลโลกแน่นอน นอกจากนี้ นางสาวยิ่งลักษณ์ จะมีการพูดคุยกับผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ เพื่อติดตามข่าวสารอย่างครบถ้วน รอบด้าน และขอย้ำว่า รัฐบาลจะรักษาอธิปไตยอย่างเต็มที่

            ด้านนายเสข วรรณเมธี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงต่างประเทศ เปิดเผยว่า การที่กลุ่มธรรมายาตราเคลื่อนไหวที่ชายแดน จ.ศรีสะเกษ ถือว่าเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้กรอบประชาธิปไตย โดยที่จะมีผู้ว่าฯ ศรีสะเกษ เป็นผู้ชี้แจงกับประชาชนในพื้นที่ถึงสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น และขอยืนยันว่า จะไม่มีการปะทะกันที่ชายแดนอย่างแน่นอน
            โฆษกกระทรวงต่างประเทศ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม เพื่อป้องกันการสับสนในข้อมูล ตนจึงขอแนะนำให้ประชาชนติดตามการถ่ายทอดสดและทำความเข้าใจในข้อเท็จจริงที่กระทรวงต่างประเทศเตรียมเผยแพร่ และขอให้ประชาชนอย่างเพิ่งด่วนตัดสินใจอะไร ทั้งนี้ ประชาชนจะเข้าใจการพิพากษาคดีง่ายขึ้น เพราะนายวีรชัย ในฐานะผู้ต่อสู้คดี จะเป็นผู้แปลจากภาษากฎหมายมาเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย

วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การเลือกตั้งนายกของประเทศมาเลเซีย

นายกของประเทศมาเลเซีย




ประเทศมาเลเซียจัดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นเมื่อวันที่ พฤษภาคม 2556  หลังนายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 3เมษายน  2556 โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกสภานิติบัญญัติรัฐ 12  จาก 13 รัฐ (ยกเว้นรัฐซาราวักหลังธรรมเนียมปฏิบัติที่เริ่มตั้งแต่ปี 2547 ให้จัดการเลือกตั้งเหล่านี้พร้อมกันประเทศมาเลเซียจัดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นเมื่อวันที่ 5พฤษภาคม 2556  หลังนายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ เมษายน  2556 โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกสภานิติบัญญัติรัฐ 12  จาก 13 รัฐ (ยกเว้นรัฐซาราวักหลังธรรมเนียมปฏิบัติที่เริ่มตั้งแต่ปี 2547 ให้จัดการเลือกตั้งเหล่านี้พร้อมกัน             
         
นายกรัฐมนตรีนาจิ๊บ ราซัค ผู้นำพรรคแนวร่วมแห่งชาติวิงวอนฝ่ายค้านยอมีรับผลการเลือกตั้งเดินหน้าสร้างความปรองดอง หลังคว้าชัยชนะในศึกเลือกตั้ง
นายกรัฐมนตรีนาจิ๊บวิงวอนให้พรรคร่วมฝ่ายค้านยอมรับผลการเลือกตั้งเพื่อนำพาประเทศไปสู่ความปรองดองและแสดงให้โลกเห็นว่ามาเลเซียมีความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง 

ขณะที่นายอันวาร์ อิบราฮิม ผู้นำพรรคร่วมฝ่ายค้านปากาตัน รักยัต ปฏิเสธผลการเลือกตั้ง โดยระบุว่ามีการทุจริตเลือกตั้งเกิดขึ้นมากมายกว่าหมื่นคดี ซึ่งคณะกรรมการเลือกตั้งไม่สามารถจัดการได้ ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่หมึกทาบนนิ้วเพื่อแสดงว่าใช้สิทธิ์เลือกตั้งแล้วสามารถลบออกได้ง่ายทั้งที่ต้องติดนานอย่างน้อย สัปดาห์ หรือการนำคนต่างชาติ จากบังคลาเทศ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียมาสวมสิทธิ์เลือกตั้ง นอกจากนี้ตามโซเชี่ยลมีเดียของมาเลเซียก็การเปิดโปงการทุจริตในรูปแบบต่างๆมาเผยแพร่ อาทิวีดีโอที่แสดงให้เห็นว่ามีคนต่างชาติได้รับสัญชาติโดยวิธีที่น่าสงสัยและถูกส่งตัวไปยังหน่วยเลือกตั้ง ซึ่งหลังผลการเลือกตั้งออกมาผู้สนับสนุนฝ่ายค้านหลายพันคนได้เปลี่ยนรูปโปรไฟล์ในเฟซบุคเป็นสีดำแสดงถึงความผิดหวัง ขณะที่หลายฝ่ายจับตาอนาคตทางการเมืองของอันวาร์ว่าจะเป็นอย่างไรหลังการเลือกตั้งครั้งนี้

อย่างไรก็ตามฝ่ายรัฐบาลและคณะกรรมการเลือกตั้ง ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาของฝ่ายค้านและกล่าวว่ามีผู้สนับสนุนของของพรรครัฐบาลได้จ่ายค่าเดินทางให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่อยู่ต่างประเทศบินกลับมาลงคะแนน-การเลือกตั้งครั้งนี้นับเป็นครั้งประวัติศาสตร์ที่มีประชาชนออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งถึง 10 ล้านคน คิดเป็น 80 เปอร์เซนต์ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 13 ล้านคน และแม้ว่าพรรคแนวร่วมแห่งชาติจะได้ที่นั่งในรัฐสภาไป 133 ที่นั่ง แต่ก็ถือว่าเป็นผลงานที่เลวร้ายที่สุดของพรรคร่วมรัฐบาล เนื่องที่นั่งลดลงจากเดิม 140 ที่นั่งจากการเลือกตั้งเมื่อปี 2008 ส่วนพรรคร่วมฝ่ายค้าน แม้ว่าจะพ่ายแพ้ในศึกเลือกตั้งครั้งนี้ แต่ก็ได้ที่นั่ง 89 ที่นั่งเพิ่มขึ้นจากเดิม ที่นั่ง 

ขณะที่ตลาดหุ้นมาเลเซียขานรับผลการเลือกตั้งทะยานขึ้นสูงสุดเป็นยประวัติการร์ 6.8 เปอร์เซนต์ในการซื้อขายช่วงเช้าวันนี้ ขณะที่ค่าเงินริงกิตแข็งค่าขึ้นในรอบ 10 เดือน

ผลการนับคะแนนการเลือกตั้งทั่วไปของมาเลเซีย ซึ่งมีขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ (พ.ค.) ปรากฏว่า หลังปิดหีบลงคะแนนผ่านไปประมาณ 9ชั่วโมง และนับบัตรได้กว่า ใน ของทั้งหมด พรรคร่วมรัฐบาลในนาม แนวร่วมแห่งชาติ” นำโดยพรรคอัมโนของ นายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค คว้าชัยชนะได้สำเร็จ เมื่อได้ ส.ส. เข้าสู่รัฐสภาแล้วอย่างน้อย 127 ที่นั่ง ครองเสียงข้างมากจากทั้งหมดในรัฐสภา 222 ที่นั่ง สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้โดยเอกเทศ ขณะที่แนวร่วมฝ่ายค้าน พรรค นำโดยนายอันวาร์ อิบราฮิม ได้ ส.ส. แล้ว 77 ที่นั่ง
นับเป็นชัยชนะการเลือกตั้งทั่วไป 13 ครั้งติดต่อกัน ของพรรคแนวร่วมแห่งชาติ ซึ่งผูกขาดครองอำนาจเป็นรัฐบาลมาตลอด ตั้งแต่มาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อปี พ.ศ. 2500 และเป็นชัยชนะที่ค่อนข้างผิดความคาดหมายก่อนหน้านี้ ซึ่งบรรดานักวิเคราะห์ชี้ว่า พรรคร่วมรัฐบาลจะเผชิญความท้าทายครั้งใหญ่สุดจากฝ่ายค้าน
เจ้าหน้าที่คณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งชาติมาเลเซีย เผยว่า การเลือกตั้งครั้งนี้มีประชาชนที่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนราว 13 ล้านคน ตัวเลขผู้ที่ออกไปใช้สิทธิสูงถึง 80 % หรือกว่า 10 ล้านคน โดยการลงคะแนนมีขึ้นในหน่วยเลือกตั้งกว่า 8,000 หน่วยทั่วประเทศ ระหว่างเวลา 08.00 น. – 17.00 น.
   
บรรดาผู้สนับสนุนแนวร่วมฝ่ายค้านต่างแสดงออกถึงความรู้สึกผิดหวังและขมขื่นกับผลการเลือกตั้งที่ออกมา เนื่องจากพวกเขาคาดหมายไว้สูงว่าการเลือกตั้งคราวนี้จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งประวัติศาสตร์ในประเทศแต่ผลลัพธ์คือ พวกเขาได้ที่นั่งในสภาเพิ่มขึ้นจากการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่แล้วในปี 2008 เพียง 7 ที่นั่งเท่านั้น
          ขณะที่ในการเลือกตั้งคราวนี้ ผู้มีสิทธิออกเสียงมากมายร้องเรียนว่า มาตรการสำคัญประการหนึ่งซึ่งทางการมาเลเซียระบุว่าเป็นเครื่องรับประกันว่าจะไม่มีการโกงการเลือกตั้ง อันได้แก่การให้ผู้ที่ใช้สิทธิแล้ว “พิมพ์นิ้วมือ” ด้วย “หมึกที่ไม่สามารถลบได้” เพื่อป้องกันการเวียนเทียนลงคะแนนนั้น แท้จริงแล้วหมึกดังกล่าวสามารถใช้นิ้วลบออกอย่างง่ายดาย นอกจากนี้ยังมีคลิปวิดีโอ ภาพถ่าย และข้อมูลจากผู้เห็นเหตุการณ์จำนวนมาก ที่ยืนยันผ่านโลกออนไลน์ว่า พบ “ผู้มีสิทธิออกเสียง” ชาวต่างชาติในคูหาเลือกตั้ง ซึ่งตรงกับที่อันวาร์ เคยกล่าวหาก่อนวันเลือกตั้งไม่นานว่ารัฐบาลขน “ผู้ต้องสงสัย” หลายหมื่นคนซึ่งอาจเป็นชาวต่างชาติไปยังเขตเลือกตั้งหลายแห่งทั่วประเทศ
          อันวาร์วัย 65 ปีซึ่งเคยมีตำแหน่งสูงสุดทางการเมืองเป็นถึงรองนายกรัฐมนตรีมาเลเซียในระหว่างปี 1993-1998 และถูกวางตัวเป็น “ทายาททางการเมือง” ของ มหาเธร์ โมฮัมหมัด กล่าวต่อกลุ่มผู้สนับสนุนที่เข้าร่วมชุมนุมเมื่อคืนวันพุธ (8) ณ สนามกีฬาแห่งหนึ่งนอกกรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยยืนยันจะเดินหน้าคัดค้านผลการเลือกตั้งใน 30 เขต ที่ผู้สมัครของพรรคร่วมฝ่ายค้าน “ปากาตัน รักยัต” ทั้ง 3 พรรค ประสบความพ่ายแพ้ต่อผู้สมัครของฝ่ายรัฐบาลแบบน่ากังขา โดยเขามั่นใจว่าการต่อสู้ตามแนวทางนี้มากพอที่จะก่อให้เกิดการพลิกผันของผลการเลือกตั้งได้